วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2558

ครั้งที่ 15
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

สรุปการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ในวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์นี้ทำให้ดิฉันได้เทคนิคและประสบการณ์ต่างๆมากมายเช่น
  • การทำบล็อคนำเสนอความรู้ต่างๆ
  • กาารสอดแทรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในชีวิตประจำวัน
  • การใช้สื่อต่างๆในการเรียนการสอน
  • การเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • และต่างๆอีกมากมาย
  • การประยุกต์ใช้ในชีวิตของการเป็นครูปฐมวัยในภายหน้า


บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2558

ครั้งที่ 14
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ
       นำเสนอนิทาน เพลง คำคล้องจอง
- กลุ่มสาระที่ 5
- กลุ่มสาระที่ 6

        อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนทั้งภาคเรียนที่2 ดังนี้ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัยจะบูรณาการ
            1.ภาษา,สุขศึกษา,สังคม,ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม,วิทยาศาสตร์,พลศึกษา,ดนตรี ฯลฯ
            2.พัฒนาการทั้ง 4ด้าน คือด้านร่างกาย,ด้านอามรณ์-จิตใจ,ด้านสังคม,ด้านสติปัญญา

            3.บูรณาการกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,กิจกรรมเสริมประสบการณ์,กิจกรรมเสรี,กิจกรรมกลางแจ้ง,กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์,เกมการศึกษา

         กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง
- นับจำนวนการจ่ายตังค์ในตลาดร่วมกับผู้ปกครอง
- นั่งรถไปเที่ยวให้บวกเลขป้ายทะเบียน/อ่านเลขป้ายทะเบียน
- การทำอาหารความยาว-ความสั้นของการเด็ดผัก

- การนับชิ้นสิ่งของร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะรับประทานอาหารโดยให้เด็กหยิบจาน,ช้อน,แก้ว ตามจำนวนคนในบ้าน (ให้หยิบของใช้มาเป็นชุด)

          เกมการศึกษา คืออะไร?  เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย ภาพตัดต่อ เป็นต้น

ประเภทเกมการศึกษา

  1. เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา
  2. เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
  3.  เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต
  4.  เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
  5.  เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
  6. เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
  7.   เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
  8.  เกมพื้นฐานการบวก

วิธีการสอน

  • ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • เปิดโอกาสให้นักศึกษาตอบคำถาม
  • ทักษะที่ได้รับ
  • ได้ทักษะการตอบคำถาม คิดวิเคราะห์
  • ได้ทักษะการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำความรู้ที่เรียนมา ไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง

บรรยากาศในการเรียน
- เพื่อนๆ มีความตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม
- แอร์หนาวเกินไป

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา

- มีการสอนที่หลากหลาย ให้นักศึกษาตอบคำถามต่าง ๆ





บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 27 เมษายน พ.ศ.2558

ครั้งที่ 13
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ
( ชดเชยตารางเรียนของวันพุธ  ที่ 4 เดือนมีนาคม  2558 )
          - อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนดตอนเที่ยง โดยให้หาห้องว่างทำ





วิธีการสอน
อาจารย์แจกใบคำถาม เพื่อนให้นักศึกษาตอบ ทบทวนความรู้ที่เรียนมา แล้ว ไปเอาชีทใบความรู้มาอ่านทบทวน

ทักษะที่ได้รับ
ได้ทบทวนความรู้เดิม บางเรื่องก็ได้ลืมไปแล้ว แต่พอได้ตอบคำถาม มันก็ทำให้เราต้องหาคำตอบ

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่เรียนมา ไปใช้ในภายภาคหน้า และจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

บรรยากาศในการเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาแยกย้ายกันไปทำงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนๆ กระจัดกระจายกันไปทำ ในห้องสมุด ศูนย์ครู เป็นต้น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี โดยให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมา

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 23 เมษายน พ.ศ.2558

ครั้งที่ 12
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ
 -  อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และให้ตัวแทน 1 คน จัดขนมที่อยู่ในกระปุกโดยการแบ่งขนมเป็นกองกองละ 10 ให้ได้ 3 กอง กองที่ 4 จะมีเพียง 2 ชิ้น
  -  ทำอย่างไรให้จับคู่หรือแบ่งกลุ่ม(โดยเด็กส่งขนมไปเรื่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ โดยให้หยิบกับตัวเองโดยใช้ถาดในการหยิบ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ค่ามากกว่า/น้อยกว่า

  -  สอบสอนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ได้รับมอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเพื่อให้เข้าใจในแผนการสอน
 -  สอบสอนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ได้รับมอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเพื่อให้เข้าใจในแผนการสอน

สอบสอน
- สอบสอนเรื่องผีเสื้อ จากที่สัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มเขียนแผนการสอน
- สอบสอนเป็นกลุ่ม กลุ่มล่ะ 5 คน ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์การสอน สื่อต่าง ๆ มา โดยกลุ่มดิฉัน สอนเรื่อง ผีเสื้อ จะมี ผีเสื้อแดง และ ผีเสื้อลาย
- ได้มีการเขียน มายแมป เชื่อมโยงความรู้ที่จะสอน แล้วต่อด้วยกระบวนการสอนต่อไป

เทคนิคที่อาจารย์แนะนำ
1. การนำสื่อมาสอนเด็ก ต้องเป็นของจริงถึงจะดี
2. สื่อต้องแข็งแรง คงทน
3. การสอนเด็กไม่ควรนั่งบังกระดาน ต้องนั่งให้เสมอกับเด็ก

วิธีการสอน
อาจารย์ให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง เขียนแผนเอง แล้ว สอนเอง เตรียมสื่อมาเอง

ทักษะ
- ทักษะในการสอน
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม

การนำไปประยุกต์ใช้
              นำเทคนิคที่ได้จากการทำกิจกรรมไปใช้ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
              เนื่องจากไม่มีห้องเรียนจึงได้ไปเรียนที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ มีแสงสว่างเพียงพอ แต่อากาศร้อน และสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
              ได้ฝึกสอบสอน ทำให้ได้เทคนิคที่ดี และมีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน 
                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
                 มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ แต่งกายสุภาพ สอนได้เข้าใจ

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 8 เมษายน พ.ศ.2558

ครั้งที่ 11
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ
กิจกรรมนำเข้าบทเรียน
           มีรูปสัตว์ 6 ตัว คือ  กระต่าย ม้าลาย เสือ ช้าง นก เป็ด
-  นำมาบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับจำนวนขา จำนวนหู จำนวนของสัตว์ เป็นต้น
1.  ครูเขียนคำบนกระดานดังนี้      
           ม้าลาย  2  ตัว    =   8
           นก        3   ตัว   =   6
           เป็ด      2   ตัว    =   4
2.  ให้รวมขาของสัตว์มีทั้งหมดกี่ขา      
           จะได้  8 + 6 + 4   =  18  ตัว

- เก็บตก.....เลขที่.....นำเสนองาน
  เลขที่ 22 นำเสนอวิจัย ทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยตามแนวของมอนเตสเซอรี่
  เลขที่ 9 นำเสนอ  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ (กิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)
  เลขที่ 10 การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์

  เลขที่ 4 เก่งเลขเก่งศิลป์ผ่านการร้อยลูกปัด

สาระที่ควรเรียนรู้
1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

หลักในการเลือกหัวข้อเรื่อง
- เรื่องใกล้ตัว
- เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ

  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

แบ่งกลุ่มทำ Mind Mapping

แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และ กลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1.ชนิด 
2.ลักษณะ 
3.การดูแลรักษา 
4.ข้อควรระวัง 
5.ประโยชน์

 - เขียนแผนการสอนตามเรื่องผีเสื้อ

วิธีการสอน
- ให้เด็กได้ลงมือทำโดยการปฏิบัติจริง
- มีวิธีการสอนที่หลากหลาย
- มีการทำกิจกรรมตัวอย่างก่อนเรียน
- เปิดโอกาศให้นักศึกษา ได้ตอบคำถาม

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้รับทักษะการเขียนแผนและการทำ My Mapping
  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม

การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำทักษะในการเขียนแผนไปใช้เขียนแผนได้ อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนให้มีความสนุกสนานมากขึ้น

บรรยากาศในห้องเรียน
- เพื่อนๆ มาเรียนน้อยเนื่องจากฝนตก
- โต๊ะและเก้าอี้ไม่เพียงพอต่อนักศึกษา

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
- พูดฉะฉาน เสียงดังฟังชัด    

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2558

ครั้งที่ 10
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ
1.กิจกรรมต่อไม้เป็นรูปต่าง ๆ
- แบ่งกลุ่ม 3 คน
2.ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น

  • รูปสามเหลี่ยม
  • รูปสี่เหลี่ยม
  • รูปอะไรก็ได้
  • รูปทรงสามเหลี่ยม
  • รูปทรงสี่เหลี่ยม
  • รูปอะไรก็ได้

เก็บตกการนำเสนอ

  1. เลขที่ 2  บทความ เรื่อง คณคิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  2. เลขที่ 25 เรื่อง การเรียนรรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  3. เลขที่ 26 การสอนคณิตศาสตร์ด้วยนิทาน


  • นำเสนอนิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้
  • นำเสนอรูปแบบการสอน


  1. รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
  2. รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์
  3. รูปแบบการสอนแบบ BBL
  4. รูปแบบการสอนแบบ STEM
วิธีการสอน
- มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าบทเรียน
- มีการให้คำแนะนำในการนำเสนองาน
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน

ทักษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการนำเสนองาน
- ทักษะในการถาม ตอบ
- ทักษะในการรวบยอดความรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน

บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีความพร้อม และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

ประเมินตนเอง
        มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนสอนมากยิ่งขึ้น และได้เทคนิคในการนำเสนองานที่ดีขึ้น

ประเมินเพื่อน 
         ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกกรม

ประเมินอาจารย์

          มีเทคนิคการสอนที่ดี  มีการให้คำแนะนำในการนำเสนองานให้กับทุกคน  มีการสอนที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ ร้องเพลงได้ไพเราะ น่าฟัง

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2558

ครั้งที่ 9
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ
 - นำเสนอวิจัย
                   เลขที่ 22

           - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
                   เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
        
          - นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
                   เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
                   เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ


วิธีการสอน 
- ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
-  ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย


ทักษะ
-  ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-  ทักษะในการพูดนำเสนองาน
-  ทักษะในการตอบคำถาม


การนำไปประยุกต์ใช้            
        นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง

ประเมินเพื่อน 
        เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ

*เนื่องจากวันนี้ไปทำกิจกรรมกีฬาสีมหาวิทยาลัย เป็ยเชียร์หลีดเดอร์ของคณะศึกษาศาสตร์ จึงไม่ได้มาเรียนค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 11มีนาคม พ.ศ.2558

ครั้งที่ 8
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

เพื่อนนำเสนอบทความ
เลขทึ่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

ทบทวนความรู้สาระและมาตรฐานในการเรียนรู้

  • สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 การวัด
  • สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 พีชคณิต
  • สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

  • จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความรู้
  • ความสำคัญ
  • วิธีการจัดการเรียนการสอน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ

     1.วางแผนและเริ่มโครงการ
     2.พัฒนาโครงการ
     3.สรุปและอภิปรายโครงการ

  • ลักษณะรูปแบบการสอนโครงการ

     1.อภิปราย
     2.นำเสนอประสบการณ์เดิม
     3.การทำงานภาคสนาม
     4.การสืบค้น และตั้งคำถาม
     5.การจัดแสดงนิทรรศการ

ฝึกร้องเพลง และแปลงเนื้อเพลง

เพลงบวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

แปลงเนื้อเพลง
บ้านฉันมีแก้วน้ำสามใบ  พี่ให้อีกห้าใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำแปดใบ  หายไปห้าใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สามใบ

เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

แปลงเนื้อเพลง
ความยมีสี่ขา  กวางมีสี่ขา
เจ้านกนัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ความกวางมี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับนกนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลงขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลงจับปู
1  2  3  4  5     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6  7  8  9  10      ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ


วิธีการสอน

  1. ทบทวนความรู้เดิม
  2. มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
  3. ทักษะที่ได้รับ
  4. ได้ทักษะการร้องเพลง แปลงเพลง ได้รู้เพลงใหม่ๆ มากขึ้น
  5. ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้จากการแปลงเพลงไปใช้ในการสอน ให้เหมาะกับเนื้อหาที่เด็กเรียน


บรรยากาศในห้องเรียน

  1. เพื่อนๆ ไม่มีความพร้อมในการเรียน
  2. อุปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยดี
  3. แอร์หนาวเย็น


ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  1. อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  2. เข้าสอนตรงเวลา

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

ครั้งที่ 7
เนื้อหาการเรียนรู้

กิจกรรมการมาเรียนของนักเรียน

เป็นการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันซึ่งจะทำให้เด็กรู้ลำดับการมาก่อน มาหลัง ได้ภาษา ได้รู้ถึงตัวเลข

ทบทวนเพลงเก่า


  • รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบรูณาการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสเซอรี่
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง


ดิฉันนำเสนอโทรทัศน์ครู

เรื่องครูนิตยากับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า

รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบรูณาการ

หมายถึงกระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ความสำคัญ
  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการจะช่วยให้สามาดนำความรู้ ทักษะจากหลาย ๆ ศาสตร์มาแก้ไขปัญหาได้กับชีวิตประจำวัน
  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการเกิความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดถ่ายโอนประสบการณ์ของศาสตร์ต่า ๆ เข้าด้วยกัน
  • ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ 
  • จะช่วยตอบสนองต่อความสามาถในหลย ๆ ด้านของผู้เรียน จะช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติแบบพหุปัญญา
  • สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลับเผยแพร่ในปัจจุบัน


สาระที่ควรเรียน
  • ตัวเด็ก
  • บุคคลและสถานที่
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
  • ทำ My Map เกี่ยวกับตัวเด็ก,บุคคลและสถานที่,ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก


วิธีการสอน
  1. ให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงจากการทำกิจกรรม
  2. มีการทบทวนความรู้เดิม
  3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถามแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ
  4. ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการช่วยสอน

ทักษะที่ได้รับ
  1. ได้รับประสบการณ์จริงจากการทำกิจกรรม
  2. ได้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์จากการทำกิจกรรม

การประยุกต์ใช้
  1. สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์สอนก่อนเรียนไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้

บรรยากาศในการสอน
  1. เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา
  2. อุณหภูมิห้องเย็นจนเกินไป
  3. อาจารย์สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน


          อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมสอนก่อนเข้าเรียนทุกคาบ ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุป งานวิจัย

ชื่อวิจัย: ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภทของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย:นางสาวนภาพร ละดาห์
มหาวิยาลัย:เกษตรศาสตร์
ปี พ.ศ.:2552

          จากผลการวิจัยเรื่อง  ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภท ซึ่งมีประชากร คือนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปี อนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนชุมชนบ้านเจียด จังหวัด อุบลราชธานี จำนวน 26 คน
          ซึ่งมีการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดประเภท ก่อนเรียนและหลังเรียน
         โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น 24 กิจกรรม ใน4 เรื่อง  
1.รูปทรงเรขาคณิต 2.ประเภทตามขนาด 3.ประเภทตามชนิด 4.ประเภทตามสี อย่างละ 6 กิจกรรม
และแบบทดสอบ 20 ข้อ ใน 4 เรื่องที่กล่าวมา เรื่องละ 5 ข้อ
          ระเวลา คือ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 40 นาที
สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นที่ใช้ คือ ไม้สัก ไม้ประดู่ กระบอกไม้ไผ่ และกะลามะพร้าว เป็นต้น
ส่วนกิจกรรมก็จะสอดคล้องกับเนื้อหา ทั้ง 4เรื่อง
          ผลการวิจัยในเรื่องนี้พบว่า เด็กทีได้รับการจัดกิจกรรม โดยการใช้สื่อในท้องถิ่น มีคะแนนทักษะพื้นฐาน ด้านการจัดประเภท หลังการทดสอบได้ดีกว่าก่อนทดสอบ


สรุป การดูวิดีโอ โทรทัศน์ครู

ครูที่สอน ชื่อ นิตยา กาชัย อนุบาล 2
การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อในการสอน
เรื่องเเรกที่สอนคือเกี่ยวกับเจำนวนเลขคู่-เลขคี่
ให้เด็กแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่ม เเล้วให้ออกมาโยนลูกเต๋าทีละคน เด็กโยนได้เลขอะไรครูก็จะเเผ่นตัวเลข
ไปแป๊ะไว้ที่บอร์ดของเเต่ละกลุ่ม เมื่อโยนครบทุกคน ครูก็จะเเยกว่ากลุ่มไหนได้จำนวนคู่เยอะที่สุดจะ
เป็นกลุ่มที่ชนะ
เรื่องที่2การบวกอย่างง่าย ในการสอนเรื่องนี้จะเพิ่มลูกเต๋ามา 1 ลูก เเผ่นสัญลักษณ์เครื่องหายบวก เเผ่น
สัญลักษณ์เครื่องหมายเท่ากับ ให้เด็กออกมาโยนลูกเต๋าทีละลูกจากนั้นเมื่อได้ตัวเลขที่โยนออกมาเเล้ว
ก็นำมาวางเรียงกันก็จะมีลูกเต๋าลูกที่ 1 +กับลูกเต๋าอันที่สองเเล้วก็เครื่องหมายเท่ากับ เเล้วก็ให้เด็กตอบ
ว่าบวกกันเเล้วได้เท่าไหร่  จากกนั้นก็ให้สมมติสถานการณ์ประกอบด้วย


สรุปบทความคณิตศาสตร์


    Math for Early Childhood
                        การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                  ที่มา: แผนกอนุบาล ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
                                                  ผู้เขียน: อ.กาญจนา คงสวัสดิ์


    การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทาง
คณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการ สำหรับเด็กวัย3-4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตรืผ่านสิ่ง
ที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้ว
เอาเคื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร
เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลขต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5หรือ 6 ขวบ
จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
 คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็กๆมีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน
รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน ( เรื่องของเวลา) การแต่งกาย ( การ
จับคู่เสื้อผ้า) การรับประทานอาหาร ( การคาดคะเนปริมาณ)  การเดินทาง ( เวลา ตัวลขที่สัญญาณไฟ
ทิศทาง) การซื้อของ ( เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

ครั้งที่ 6

เนื้อหาการเรียนรู้
- นำชื่อไปติดบอร์ดเกี่ยวกับสถานที่ ว่านักศึกษาอยากไปเที่ยวที่ไหน (เป็นวิธีการสอนแบบปฏิบัติโดยเด็ก   มีส่วนร่วม)
- เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

         - นิทาน
         - เพลง
         - เกม
         - คำคล้องจอง
         - ปริศนาคำทาย
         - บทบาทสมมติ
         - แผนภูมิรูปภาพ
         - การประกอบอาหาร
         - กิจวัตรประจำวัน เช่น การไปตลาด
-นำเสนอวิจัยเลขที่ 13 - 15
-ทดสอบก่อนเรียน
-แบ่งกลุ่มตัดกระดาษขนาด 1*1 นิ้ว คนละ 30 แผ่น

เพลงเกี่ยวกับปฐมวัย

เพลง นับนิ้วมือ

        นี้คือนิ้วมือของฉัน     มือของฉันนั้นมี 10 นิ้ว
มือซ้ายฉันมี 5 นิ้ว     มือขวาก็มี 5 นิ้ว
 นับ 1 2  4  5                    นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ           นับ 1-10 จำให้ขึ้นใจ

คำคล้องจอง 1 2 3

1 2 3 เป็นยามปลอด       4 5 6 ลอดรั้วออกไป
7 8 9 เเดดเเจ่มใส่         10 11 ไวไววิ่งไล่กัน
12 13 รีบย่องกลับ        14 15 หลับเเล้วฝัน
16 17 ตกเตียงพลัน          18 19 20 ฉันนั้นหัวโน



วิธีการสอน
- มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
- มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน
- นำกิจกรรมมาให้นักศึกษาเพื่อให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น


ท้กษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม- ตอบ
- ทักษะในการสรุปองค์ความรู้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น
- ทักษะในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม


การนำไปประยุกต์ใช้  
        นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็ก ในเรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการนำดทคนิควิธีการที่หลากหลายไปใช้


บรรยากาศในห้องเรียน
       วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น


ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการเรียน แต่แอบหลับในบางครั้ง


ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย


ประเมินอาจารย์
       เสียงดังฟังชัดมีความพร้อมในการสอน

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

ครั้งที่ 5

เนื้อหาการเรียน
 - นำชื่อไปติดบอร์ด ว่าใครมาเรียนไม่มาเรียน
 - ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องมาตรฐาน สาระการเรียนรู้ 3 ข้อ
 - เลขที่ 10 - 12 นำเสนอบทความ


เพลงจัดแถว

สองมือเราชูตรง     แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า    แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ซ้าย - ขวา

ยืนให้ตัวตรง    ก้มหัวลงมือตบแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน     หัวตัวไปทางนั้นแหละ

นกกระจิบ

นั่นนกบินมาลิบลิบกปฐมวัยรู้อะไรใน
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา
6 7 8 9 10 ตัว

เด็กปฐมวัยรู้อะไรในคณิตศาสตร์
   รู้พื้นฐานการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ในชั้นประถมศึกษา

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
1.จำนวนและการดำเนินการ
 2.การวัด
 3.เรขาคณิต
 4.พีชคณืต
 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical Thinking)
-จำนวนนับ
-เข้าใจหลักการนับ

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาวน้ำหนักปริมาณเงินและเวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

4.ความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี่ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
-เช่น ต่ำ ต่่ำ สูง ต่ำ ต่ำ สูง ........................

5.มีส่วนร่ามในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรุปแบบแผนภูมิ

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

1.จำนวนและการดำเนินการ
   -มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลาย
   -จำนวน
   -การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
   -การรวมและการแยกกลุ่ม
   -ความหมายของรวม การแยก

2.การวัด
-มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานการวัด
-ความยาว น้ำหนักและปริมาณ
-เงิน
-เวลา

3.เรขาคณิต
-มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง ระยะทาง
-มาตรฐาน ค.ป.3.2 รูปจักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตมราเกิดจากการจัดกระทำ

4.พีชคณิต
-มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจความสัมพันธ์ของแบดเทิน
-แบบรูปและความสัมพันธ์

5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-การเก็บข้อมูล

6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา  การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ


วิธีการสอน
 -มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- มีการการถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน


ท้กษะ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม- ตอบ
- ทักษะในการสรปองค์ความรู้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น



การนำไปประยุกต์ใช้  
        นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ให้สอดคล้องกับสาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการเรียน



ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย



ประเมินอาจารย์      
        สอนได้เข้าใจง่าย จังหวะการพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีน้ำเสียงที่พอดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือล้น ทำให้เกิดความรู้มากยิ่งขึ้น
                   

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 28 มกราคม พ.ศ.2558

ครั้งที่4 (ไม่มาเรียนเนื่องจากไปภาคสนามที่เขาชนไก่)

เนื้อหาการเรียน

-ให้นักศึกษาทำป้ายชื่อและนำไปแปะบนกระดานว่าใครมาก่อนแปดโมงเช้าและใครมาหลังแปดโมงเช้า โดยบอกทักษะในการสอนเด็กว่าต้องทำแบบไหน เช่น ขีดเส้นตรงและเขียนบนหัวเส้นว่า 8.00 และให้เด็กนำชื่อมาติดไว้หน้าเส้นและหลังเส้น

 ทดสอบก่อนเรียน
-ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางตณิตศาสตร์
-จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่ 7 เรื่องของเล่นและของใช้
เลขที่ 8 เรื่องผลไม้แสนสนุก
เลขที่ 9 เรื่องการบูรณาการสู่การพร้อมในการเรียน

โจทย์คืออะไร - คำถามคือโจทย์

-ทบทวนพัฒนาการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่นการรู้จักคำศัพท์
-พัฒนามโนภาพ เช่น การบวก การลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐาน
1.การสังเกต (Observation)
 -ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ในการเรียนรู้
2.การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยกาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง ขึ้น
3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
4.การจัดลำดับ(Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
5.การวัด(Measverment)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
6.การนับ(Counting)
-การนับแบบท่องจำนี้จะสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับจุดประสงค์อื่นได้
7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
-เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกียวกับคณิตศาสตร์
ตัวเลข-น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
อุณหภูมิ-เย็น ร้อน อุ่น เดือด
ความเร็ว-เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน

สอนร้องเพลงคิดท่าทางประกอบเพลงสวัสดียามเช้า  เพลงหนุ่งปีมีสิปสองเดือน  เพลงเข้าแถว  พร้อมบอกเทคนิคการร้องเพลงให้กับเด็ก

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 21 มกราคม พ.ศ.2558

ครั้งที่3
-เนื้อหาภายในคาบเรียน
-อาจารย์ตรวจดูบล็อคของนักศึกษา
-เพื่อนๆนำเสนองานวิจัยหน้าชั้นเรียน
-ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เคยเรียนมา
-ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
-ถามคำถาม 5 ข้อ

  อาจารย์สอนวิธีการมานำเสนอหน้าชั้นเรียน 
1.การแนะนำตัว ต้องเสียงดัง ฟังชัด
2.พูดชัดถ้อย ชัดคำ
3.วิธีการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรีย
4.สรุปวิจัยมาให้ดี/กระชับ 
ต้องมี ความสำคัญ,ขอบเขตการวิจัย,การดำเนินการ,เครื่องมือที่ใช้,คำศัพท์เฉพาะ,วัตถุประสงค์,สรุปผลการวิจัย
    
  ทักษะที่ได้ในวันนี้
1.ทักษะทางการคิด
2.ทักษะทางการตอบคำถามแสดงความคิดเห็น
3.ทักษะการระดมความคิด

 วิธีการสอน
1.การใช้โปรแกรม Power Point
2.แบบทดสอบก่อนเรียน
3.การนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน

 การประยุกต์ใช้
1.การทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อเป็นการรู้ถึงความรู้เดิมของเด็กแต่ละคนเพื่อการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม
2.การนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียนเพื่อให้กล้าแสดงออก

บรรยากาศในการเรียน
     วันนี้เพื่อนแต่ละคนตั้งใจฟังอาจารย์และช่วยกันตอบคำถาม

ตัวผู้สอน
      อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อยและพูดช้าลงเพื่อให้นักศึกเข้าใจ


เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เพลงคำคล้องจอง


เรือใบสีแดง   แล่นแซงขึ้นหน้า
เรือใบสีฟ้า   ตามมาอยู่กลาง   
เรือใบลำไหน   แล่นอยู่ข้างหลัง
สีขาวช้าจัง   อยู่หลังสุดเลย

เพลงใหญ่ - เล็ก


มาลีเดินมา เห็นหมาตัวใหญ่
มาลีร้องไห้ ตกใจกลัวหมา
เห็นแมวตัวน้อย ค่อยๆก้าวมา
แมวเล็กกว่าหมา มาลีไม่กลัว

จัดประสบการณ์แนวคิด
1.สื่อรูปธรรม
2.สื่อน่าสนใจ
3.เด็กมีส่วนร่วม
4.ใช้เวลาไม่นาน

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 14 มกราคม พ.ศ.2558

ครั้งที่2

1.ความหมายของคณิตศาสตร์
                    คณิต หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ ศาสตร์ หมายถึง ระบบ วิชาความรู้ คณิตศาสตร์ หมายถึง เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ

2.ความสำคํญของคณิตศาสตร์
                   ยุพิน พิพิธกุล ( 2530 : 2-3)   คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไมคณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5  =  8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ

 3.ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะได้แก่                                         
      1. ทักษะการสังเกต(Observation)  คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดประสงค์  
                   
      2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)  คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม  ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง      
               
     3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)  คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง       

     4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)  คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม                 

     5. ทักษะการวัด(Measurement)  คือ เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม           

     6. ทักษะการนับ(Counting)  คือ แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย                      

     7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)  คือ เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ 

4.ประโยชน์ของคณิศาสตร์
   คณิตศาสตร์ สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน  เช่น การซื้อขายสินค้า การบ่งบอกเวลา ตังเลขอยู่รอบๆตัวเรสตลอดเวลา

วิธีการสอน

1.   อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม โดยมีหัวข้อให้ดังนี้ ความหมายของคณิตศาสตร์,ความสำคัญของ คณิตศาสตร์,ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
2.   อธิบาย ยกตัวอย่าง คณิตศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประวันของเรา 
3.   แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอตามหัวข้อที่ได้รับ


ทักษะที่ได้

การระดมความคิด
การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การสรุปใจความของเนื้อหาที่เรียน

การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
เข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น


บรรยากาศภายในห้องเรียน

1.แอร์เย็น
2.เพื่อนๆมาเรียนเกือบครบ
3.พื้นที่ในการทำงานกลุ่มแคบเกินไป
        
ประเมินครูผู้สอน
    อาจารย์พูดเสียงดังฟังชัด และแก้ไขสถานะการณ์ฉุกเฉินได้ดีเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ในการสอนครบถ้วน
        

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่พุธที่ 7 มกราคม พ.ศ.2558

ครั้งที่1 

-อาจารย์ได้แนะแนวรายละเอียดของวิชานี้และวิธีการเรียนการสอน
-พูดคุยเกี่ยวกับข้อตกลงในชั้นเรียน
-สรุปความรู้เดิมเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์
-พูดถึงความคาดหวังทั้ง6ด้าน

คาดหวัง6ด้าน

1.คุณธรรมและจริยธรรม
2.ความรู้เนื้อหาสาระ
3.ทักษะทางปัญญา
4.สื่อเทคโนโลยี ตัวเลขประมวลผลทางสารสนเทศ
5.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
6.ทักษะการจัดการเรียนรู้

วิธีการสอน

-การระดมความคิด
-การใช้โปรแกรม Mind Map
-การใช้สื่อออนไลน์ในการสอน
-ใช้เทคนิคการตั้งคำถามตอบคำถาม

ทักษะที่ได้

-การคิด
-การตอบคำถาม
-การเขียน Mind Map
-การสรุปใจความสำคัญ

การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้

-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการสอนเด็ก เช่น การตั้งคำถามเพื่อให้เด็กตอบ
-สามารถสรุปความคิดรวบยอดและนำมาเขียนเป็น Mind Map 

บรรยากาศภายในห้องเรียน

         อากาศเย็น และเนื่องจากเป็นการเปิดเทอมช่วงแรกจึงทำให้เพื่อนๆที่เรียนร่วมชั้นกันมาน้อยมาก แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน

ประเมินครูผู้สอน

         คูณครูได้เตรียมความพร้อมในการสอนมาเป็นอย่างดี และคุณครูยังได้แนะแนวการเรียนการสอนทำให้ นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมในการเรียนเป็นอย่างดี