สรุป งานวิจัย
ชื่อวิจัย: ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภทของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย:นางสาวนภาพร ละดาห์
มหาวิยาลัย:เกษตรศาสตร์
ปี พ.ศ.:2552
จากผลการวิจัยเรื่อง ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภท ซึ่งมีประชากร คือนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปี อนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนชุมชนบ้านเจียด จังหวัด อุบลราชธานี จำนวน 26 คน
ซึ่งมีการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดประเภท ก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น 24 กิจกรรม ใน4 เรื่อง
1.รูปทรงเรขาคณิต 2.ประเภทตามขนาด 3.ประเภทตามชนิด 4.ประเภทตามสี อย่างละ 6 กิจกรรม
และแบบทดสอบ 20 ข้อ ใน 4 เรื่องที่กล่าวมา เรื่องละ 5 ข้อ
ระเวลา คือ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 40 นาที
สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นที่ใช้ คือ ไม้สัก ไม้ประดู่ กระบอกไม้ไผ่ และกะลามะพร้าว เป็นต้น
ส่วนกิจกรรมก็จะสอดคล้องกับเนื้อหา ทั้ง 4เรื่อง
ผลการวิจัยในเรื่องนี้พบว่า เด็กทีได้รับการจัดกิจกรรม โดยการใช้สื่อในท้องถิ่น มีคะแนนทักษะพื้นฐาน ด้านการจัดประเภท หลังการทดสอบได้ดีกว่าก่อนทดสอบ
สรุป การดูวิดีโอ โทรทัศน์ครู
ครูที่สอน ชื่อ นิตยา กาชัย อนุบาล 2
การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อในการสอน
เรื่องเเรกที่สอนคือเกี่ยวกับเจำนวนเลขคู่-เลขคี่
ให้เด็กแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่ม เเล้วให้ออกมาโยนลูกเต๋าทีละคน เด็กโยนได้เลขอะไรครูก็จะเเผ่นตัวเลข
ไปแป๊ะไว้ที่บอร์ดของเเต่ละกลุ่ม เมื่อโยนครบทุกคน ครูก็จะเเยกว่ากลุ่มไหนได้จำนวนคู่เยอะที่สุดจะ
เป็นกลุ่มที่ชนะ
เรื่องที่2การบวกอย่างง่าย ในการสอนเรื่องนี้จะเพิ่มลูกเต๋ามา 1 ลูก เเผ่นสัญลักษณ์เครื่องหายบวก เเผ่น
สัญลักษณ์เครื่องหมายเท่ากับ ให้เด็กออกมาโยนลูกเต๋าทีละลูกจากนั้นเมื่อได้ตัวเลขที่โยนออกมาเเล้ว
ก็นำมาวางเรียงกันก็จะมีลูกเต๋าลูกที่ 1 +กับลูกเต๋าอันที่สองเเล้วก็เครื่องหมายเท่ากับ เเล้วก็ให้เด็กตอบ
ว่าบวกกันเเล้วได้เท่าไหร่ จากกนั้นก็ให้สมมติสถานการณ์ประกอบด้วย
สรุปบทความคณิตศาสตร์
Math for Early Childhood
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ที่มา: แผนกอนุบาล ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ผู้เขียน: อ.กาญจนา คงสวัสดิ์
การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทาง
คณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการ สำหรับเด็กวัย3-4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตรืผ่านสิ่ง
ที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้ว
เอาเคื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร
เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลขต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5หรือ 6 ขวบ
จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็กๆมีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน
รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน ( เรื่องของเวลา) การแต่งกาย ( การ
จับคู่เสื้อผ้า) การรับประทานอาหาร ( การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง ( เวลา ตัวลขที่สัญญาณไฟ
ทิศทาง) การซื้อของ ( เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ