ครั้งที่2
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิต หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ ศาสตร์ หมายถึง ระบบ วิชาความรู้ คณิตศาสตร์ หมายถึง เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ
2.ความสำคํญของคณิตศาสตร์
ยุพิน พิพิธกุล ( 2530 : 2-3) คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไมคณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม สัญลักษณ์ที่รัดกุม สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด เช่น อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด สมการ 3+5 = 8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ
3.ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะได้แก่
1. ทักษะการสังเกต(Observation) คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดประสงค์
2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying) คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง
3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing) คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง
4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering) คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม
5. ทักษะการวัด(Measurement) คือ เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
6. ทักษะการนับ(Counting) คือ แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size) คือ เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ
4.ประโยชน์ของคณิศาสตร์
คณิตศาสตร์ สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น การซื้อขายสินค้า การบ่งบอกเวลา ตังเลขอยู่รอบๆตัวเรสตลอดเวลา
วิธีการสอน
1. อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม โดยมีหัวข้อให้ดังนี้ ความหมายของคณิตศาสตร์,ความสำคัญของ คณิตศาสตร์,ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
2. อธิบาย ยกตัวอย่าง คณิตศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประวันของเรา
3. แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอตามหัวข้อที่ได้รับ
ทักษะที่ได้
การระดมความคิด
การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การสรุปใจความของเนื้อหาที่เรียน
การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
เข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น
บรรยากาศภายในห้องเรียน
1.แอร์เย็น
2.เพื่อนๆมาเรียนเกือบครบ
3.พื้นที่ในการทำงานกลุ่มแคบเกินไป
ประเมินครูผู้สอน
อาจารย์พูดเสียงดังฟังชัด และแก้ไขสถานะการณ์ฉุกเฉินได้ดีเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ในการสอนครบถ้วน